สัญญาณเตือน ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

You are here:

หนังตาตก หางตาตก แก้ไขด้วยวิธีใด

            อย่างที่หลายคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือ “Ocular Myasthenia Gravisเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาผิดปกติที่ไม่ได้มีอันตรายต่อชีวิต แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ควรปล่อยไว้จนกระทั่งมีอาการรุนแรง เพราะส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันและบุคลิกภาพ เนื่องจากผู้ที่มีปัญหาจะดู ตาปรือ คล้ายคนง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา แต่งหน้ายากขาดความมั่นใจ เปลือกตาตกปิดบังรูม่านตาส่งผลต่อการมองเห็น ต้องเลิกคิ้วทำให้เกิดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา เบ้าตาลึก หน้าโทรม ดูแก่ก่อนวัย ดังนั้นหากสังเกตเห็นอาการควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการแก้ไขทันที ซึ่งหากอยากเช็กด้วยตัวเองเบื้องต้นจะมีจุดสังเกตและวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างนั้น เรามีคำตอบมาฝาก

สาเหตุของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

           กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถแบ่งผู้ที่มีภาวะนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มที่พบตั้งแต่กำเนิด มีสาเหตุจากความผิดปกติพันธุกรรม ทำให้เส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อตาพัฒนาผิดปกติ โดยสามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อเข้าสู่วัยเด็ก ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้หนังตาตกมาปิดตาดำ ลืมตาไม่ขึ้นแล้ว ยังอาจมีปัญหาเรื่องตาขี้เกียจและตาเอียงร่วมอีกด้วย
  2. กลุ่มที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
  3. อายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผิวจะสูญเสียความยืดหยุ่น ส่งผลให้เปลือกตาอ่อนแรงหย่อยคล้อยลงมาปิดตาดำ
  4. ภาวะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือ Myasthenia Gravis (MG) ภาวะโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งนอกจากจะมีปัญหาเปลือกตาอ่อนแรงลืมตายาก เปลือกตาตก มองเห็นไม่ชัดเจนแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น แขนขาอ่อนแรง มีปัญหาในการกลืน การเคี้ยว และการพูด
  5. มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการจ้องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน จ้องโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานต่อเนื่อง การใส่คอนแทคเลนส์ ชอบขยี้ตา หรือเช็ดถูเครื่องสำอางบริเวณเปลือกตารุนแรงบ่อยครั้ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เปลือกตาสูญเสียความยืดหยุ่นและเร่งให้เกิดภาวะเปลือกตาอ่อนแรงเร็วขึ้น
  6. การ ทำตาสองชั้น ผิดพลาด เกิดขึ้นได้ทั้งจากการเลือกใช้เทคนิคการผ่าตัดที่ไม่เหมาะสม และศัลยแพทย์ขาดความชำนาญในการผ่าตัดศัลยกรรม ทำตาสองชั้น เกิดผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อตาหลังการผ่าตัด
  7. เกิดอุบัติเหตุที่บริเวณเปลือกตา ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อตาผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถควบคุมเปลือกตาได้

วิธีสังเกตกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

          ปกติแพทย์จะการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยพิจารณาจากระดับของเปลือกตา หากเปลือกตาหย่อนลงมาปิดตาดำลงมากกว่า 2 มิลลิเมตร ถือว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • หนังตาตก

อาการหนังตาตกเป็นอาการที่สังเกตเห็นได้ง่ายที่สุด โดยนอกจากจะเห็นหนังตาตกแล้ว ยังทำให้มีลักษณะ ตาปรือ ชั้นตาไม่ชัด ทำให้ดูโทรมไม่สดใส แต่ในกรณีที่มีอาการความรุนแรงขอบตาบนปิดคลุมดวงตาดำมากกว่า 4 มิลลิเมตร อาจมีปัญหาเรื่องการมองเห็น มองภาพไม่ชัด เอียงคอแหงนคอตลอดเวลาด้วย

  • ลืมตาได้ไม่เต็ม

นอกจากมีอาการเปลือกตาหย่อนคล้อยแล้ว ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังทำให้เปิดตำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากกล้ามเนื้อมัดเล็กสูญเสียความแข็งแรง ทำให้ต้องพยายามเบิกตาเพื่อช่วยให้มองเห็นมากขึ้น

  • เบ้าตาลึกกว่าปกติ

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น ทำให้เบ้าตาดูลึกมากกว่าปกติ ดูไม่สดใส และแก่ก่อนวัย เนื่องจากบริเวณเปลือกตาและรอบดวงตาสูญเสียความยืดหยุ่น

  • เลิกคิ้วบ่อยครั้ง

เพราะกล้ามเนื้อเปลือกตาตกและยกขึ้นได้ไม่เต็มที่ จึงต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณคิ้วและหน้าผากช่วยในลืมตา ทำให้ดูเหมือนต้องเลิกคิ้วอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหากเลิกคิ้วบ่อย ๆ จะเกิดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา และคิ้วเร็วขึ้น

วิธีแก้ไขปัญหา กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

หากสังเกตความผิดปกติของเปลือกตา ลองทำตามวิธีการแก้ไขภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่แนะนำเหล่านี้และเมื่อพบความผิดปกติดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำให้การรักษาทันที

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำลายกล้ามเนื้อตา

กรณีที่มีอาการระยะไม่รุนแรง ในเบื้องต้นสามารถบรรเทาอาการและชะลอการหย่อยคล้อยของเปลือกตาได้ด้วยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบ้างประการ อย่างการนอนดึก  ความเครียด การขยี้ตา  นอกจากนั้นแนะนำให้บริหารเปลือกตาด้วยการกรอกตาขึ้นบนลงล่างซ้ายขวา วันละ 2 รอบต่อวัน และปรับโฟกัสดวงตาโดยการใช้ปากกาหรือนิ้วยื่นไปข้างหน้า จากนั้นค่อยเลื่อนเข้าหาดวงตา หากเห็นภาพซ้อนให้กลับไปเริ่มต้นใหม่ ทำซ้ำวันละ 20 รอบ ประมาณวันละ 3 ครั้ง เมื่อทำเป็นประจำจะช่วยลดปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนล้าได้โดยไม่ต้องรับประทานยาหรือผ่าตัด

  • การรับประทานยา

กรณีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์จะรักษาด้วยการรับประทานยา ได้แก่ ยากระตุ้นการทำงานของสื่อประสาท ยาสเตียรอยด์ และยากดภูมิคุ้มกัน  เพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • การผ่าตัด

กรณีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากพันธุกรรม การทำงานผิดปกติเส้นประสาท การทำงานผิดปกติของเปลือกตา ประสบอุบัติเหตุ หรือมีความรุนแรงมาก แพทย์จะแก้ไขด้วยการผ่าตัดร่วมกับการ ทำตาสองชั้น ซึ่งต้องดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมโดยเฉพาะเพื่อลดผลข้างเคียงในภายหลัง เนื่องจากต้องมีการเลาะชั้นตาเดิมและเย็บกล้ามเนื้อชั้นตาใหม่

 

จะเห็นได้ว่าปัญหา กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ซึ่งถึงไม่เป็นอันตราย  แต่หากปล่อยไว้จนกระทั่งมีความรุนแรงก็ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นและบุคลิกภาพ ดังนั้นหากสังเกตเห็นอาการควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการแก้ไขทันทีย่อมดีกว่าปล่อยไว้