Filler คืออะไร?
(Filler) ฟิลเลอร์ สารสกัดจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูง เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองโดย องค์กรอาหารและยาจากประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ FDA สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องให้แพทย์ที่ชำนาญการเฉพาะฉีดเท่านั้น และบุคลากรแพทย์ ต้องรู้เทคนิคการฉีดที่ถูกต้องเหมาะสม และวิเคราะห์ปริมาณ (Filler) ฟิลเลอร์ และตำแหน่งที่ฉีดได้ ต้องฉีดในสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานได้รับอนุญาตเพราะหากฉีด (Filler) ฟิลเลอร์ โดนเส้นเลือดหรือบริเวณอื่นๆ ที่ไม่ต้องการ อาจเป็นอันตรายพิการถึงชีวิตได้
ใช้ (Filler) ฟิลเลอร์ ทางการแพทย์ เพื่ออะไร?
การใช้ (Filler) ฟิลเลอร์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถแก้ไขรูปหน้าได้โดยไม่ต้อง ลงมีดทำ ศัลยกรรมและเห็นผลได้ทันทีหลังฉีด ไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการฉีด Filler (ฟิลเลอร์) นั้น ช่วยเติมร่องลึกบริเวณต่างๆ ให้ดูดีขึ้นได้ และ (Filler) ฟิลเลอร์ สามารถปรับรูปหน้า ทำให้จุดต่างๆ บนใบหน้ามีมิติขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ใบหน้าดูเข้ารูปอย่างเป็นธรรมชาติได้อีกด้วย
ลักษณะของ (Filler) ฟิลเลอร์ คือ
สารไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) หรือ (Filler) ฟิลเลอร์ หรือชื่อย่อ HA ที่มีลักษณะใส นิ่ม คล้ายวุ้น เพื่อใช้ในการเติมเต็มชั้นผิวที่เป็นร่องลึกในส่วนต่าง ๆ บนใบหน้าให้ดูเต่งตึง มีน้ำมีนวล และ ดูอ่อนเยาว์กว่าวัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการใช้ฟิลเลอร์ยังนิยมนำมาใช้ในการแก้ไขปรับแต่งรูป หน้า ไม่ว่าจะเป็นการเติมฟิลเลอร์ขมับ การฉีด (Filler) ฟิลเลอร์ แก้มตอบ เพื่อเติมเต็มความละมุนให้ ใบหน้าดูอวบอิ่ม ฉีด Filler (ฟิลเลอร์) ร่องแก้ม สำหรับคนไข้ที่มีแก้มตอบลง เมื่อมีอายุที่มากขึ้น หรือ ฉีด Filler (ฟิลเลอร์) ปากเพื่อให้ริมฝีปากดูอิ่มสวยและทำให้หน้ากลับมาดูมีชีวิตชีวา นอกจากนี้การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) คาง ยังได้รับความนิยมในกลุ่มคนไข้ที่ต้องการมีรูปคางที่เรียวยาวอย่างเป็นธรรมชาติ หรือ การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) หน้าผากที่ช่วยลดริ้วรอยให้เต่งตึง และเรียบเนียนมากยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องพึ่ง การผ่าตัดศัลยกรรมแต่อย่างใด และ Filler (ฟิลเลอร์) แท้จะอยู่ได้นาน 6 เดือน ถึง 2 ปี แล้วแต่แบรนด์ บริเวณจุดที่ฉีด และการดูแลตัวเองหลังฉีด (Filler) ฟิลเลอร์
(Filler) ฟิลเลอร์ สามารถฉีดจุดไหนได้บ้าง
แน่นอนว่าการฉีด Filler (ฟิลเลอร์) นั้นเป็นการเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป บริเวณที่สามารถฉีด Filler (ฟิลเลอร์) จะแยกออกมาเป็นบริเวณที่นิยม และบริเวณทั่วไปที่สามารถฉีดได้ Filler (ฟิลเลอร์) บริเวณที่นิยมนั้น มี 7 จุด ได้แก่ ขมับ, หน้าผาก, ใต้ตา, แก้ม, ร่องแก้ม, ปาก และคาง และบริเวณที่สามารถ ฉีดได้นอกเหนือจากบริเวณที่นิยม ได้แก่ หว่างคิ้ว, ใต้คิ้ว (เพื่อยกคิ้ว), โหนกแก้ม และ จมูก
บริเวณ 7 จุดที่สามารถฉีด (Filler) ฟิลเลอร์
- ฉีด (Filler) ฟิลเลอร์ บริเวณขมับ
เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาขมับบุ๋มลงไป ไม่โค้งไปตามรูปหน้า การแก้ปัญหาด้วยการฉีด Filler (ฟิลเลอร์) นั้นเพื่อทำให้ ขมับนั้นดูเต็มย่งขึ้นและโค้งสวยได้รูปหน้า
- ฉีด (Filler) ฟิลเลอร์ หน้าผาก
เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหารอยย่นบนหน้าผาก หรือหน้าผากมีความแบน ไม่นูนสวยได้รูป การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) เพื่อเข้าไปเติมเต็มนั้นทำให้ หน้าผากดูกลมสวยได้รูปรับกับใบหน้า
- ฉีด Filler (ฟิลเลอร์) ใต้ตา
เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวรอบดวงตา เช่น ปัญหาริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อย ถุงใต้ตา และขอบตาดำ นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาตาโบ๋ ตาลึก ตาโหล และตาดำจากกรรมพันธุ์ และอายุที่มากฉีด Filler (ฟิลเลอร์) ใต้ตาขึ้นอีกด้วย
- ฉีด Filler (ฟิลเลอร์) แก้ม (ลูกส้ม)
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการแก้ปัญหาเรื่องแก้มตอบ โดยการฉีด Filler (ฟิลเลอร์) แบบนี้จะช่วยเติมเต็มร่องแก้มที่ ยุบลงไปและช่วยปรับรูปหน้าให้ดูเป็นทรงมากยิ่งขึ้นฟิลเลอร์มีกี่ประเภท
- ฉีด (Filler) ฟิลเลอร์ ร่องแก้ม
เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มมีรอยพับบริเวณช่วงปีกจมูกที่เป็นเส้นเฉียงยาวลงมาที่มุมปาก โดยฟิล เลอร์ชนิดนี้สามารถช่วยเติมร่องแก้มให้ดูเต็มและดูอิ่มน้ำได้มากกว่าเดิม โดยปัจจุบันนี้ Filler (ฟิลเลอร์) ร่องแก้มนั้นมีหลายราคาให้เลือกสรรตามความลึกและกว้างของร่องแก้มที่เกิดขึ้น
- ฉีด (Filler) ฟิลเลอร์ บริเวณปาก
เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อปากน้อย อยากให้รูปปากดูอิ่มฟูมากยิ่งขึ้น การฉีดฟิลเลอร์เป็นการเติมเต็มในส่วนของรูปปาก สามารถฉีดได้ทั้งปากบน และปากล่าง ปัจจุบันนั้นนิยมการฉีด Filler (ฟิลเลอร์) ปากมากพอๆกับ การศัลยกรรมปาก
- ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) คาง
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการทำศัลยกรรมคาง ปลายคางทู่ หรือหน้าสั้น การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) เข้าไป เติมเต็มในจุดนั้นสามารถทำให้คางนั้นมีรูปที่ยาวขึ้น และลดปัญหาการเกิดรอย่นบริเวณคาง อีกด้วย
บริเวณที่สามารถฉีดได้นอกเหนือจากบริเวณที่นิยม
- ฉีด (Filler) ฟิลเลอร์ ใต้คิ้ว
การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) บริเวณใต้คิ้วนั้น ค่อนข้างจะเห็นผลได้ไม่ชัดเจนมาก แต่เป็นอีวิธีนึงที่สามารถ ยกคิ้วได้ เนื่องจาก Filler (ฟิลเลอร์) มีหน้าที่เป็นสารคอยเติมเต็ม อาจจะเหมาะกับการเติมเต็มมากกว่า การฉ๊ดเพื่อทำให้ผิวบริเวณนั้นยกขึ้น
- ฉีด (Filler) ฟิลเลอร์ โหนกแก้ม
การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) โหนกแก้มเป็นหนึ่งในฟิลเลอร์ที่สามารถช่วยปรับรูปหน้าได้โดยแพทย์จะทำการฉีดลงไปที่เยื่อหุ้มกระดูกโหนกแก้มแต่ละชั้นเพื่อปรับแต่งโครงหน้าในแบบที่คุณต้องการ
- ฉีด (Filler) ฟิลเลอร์จมูก
การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) จมูก เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เพราะสามารถปรับรูปดั้งและสันจมูก ฉีดจมูกโด่งขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงยังสามารถปรับแก้ไขทรงจมูกที่ไม่ได้สัดส่วน หรือ จมูกเบี้ยวได้ด้วย
ประเภทของ Filler (ฟิลเลอร์)
Filler (ฟิลเลอร์) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าฟิลเลอร์นั้นมีแบบที่ร่างกายดูดซึมได้ และประเภทที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ ความแตกต่างระหว่าง 2 ประเภทนี้และระยะเวลาใน การคงอยู่ของ Filler (ฟิลเลอร์)
Filler (ฟิลเลอร์) ประเภทที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้
1. กรดไฮยาลูโรนิก Hyaluronic Acid (HA) เป็นสารที่พบได้ตามผิวหนังและกระดูกอ่อนของ ร่างกาย สามารถอยู่ได้นาน 6-12 เดือน โดยเมื่อกรดชนิดนี้จับกับน้ำก็จะพองขึ้นเป็นเจล ซึ่งหาก ฉีดเข้าไปในร่างกายจะส่งผลให้ผิวเต่งตึงขึ้นมา ในปัจจุบัน Filler (ฟิลเลอร์) จากกรดไฮยาลูโรนิกนั้น ได้การรับรองจาก อย.ว่าสามารถใช้กับร่างกายได้อย่างปลอดภัย
2. ไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium hydroxyapatite) แร่ธาตุชนิดนี้พบได้ทั่วไปในกระดูกและ ฟันของคนเราได้เช่นกัน เมื่อนำมาผลิตเป็น Filler (ฟิลเลอร์) ฉีดเข้าร่างกาย จะอยู่ในรูปของสารละลาย คล้ายเจล และสามารถคงผลลัพธ์อยู่ได้นานประมาณ 18 เดือน
3. กรดโพลี แอล แลคติก (PLLA) สารโพลิเมอร์ที่มนุษย์สร้างขึ้น มีความสามารถในการย่อย สลายทางชีวภาพและเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกาย จึงมักนำมาใช้เป็นวัสดุเย็บแผลที่ละลาย ได้หรือใช้ดามกระดูกที่หัก การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) จากสารชนิดนี้จะต้องฉีดซ้ำเป็นระยะเวลาหลาย เดือน และผลลัพธ์จะค่อย ๆ เห็นชัดขึ้นในแต่ละครั้ง โดยสามารถคงอยู่ในร่างกายได้นานถึง 2 ปี
Filler (ฟิลเลอร์) ประเภทที่ร่างกายสามารถดูดซึมไม่ได้
พอลิเมธิลเมธาคริเลต Polymethyl Methacrylate (PMMA) เป็น Filler (ฟิลเลอร์) ที่สังเคราะห์ขึ้น มา เมื่อฉีดเข้าไปแล้วตัวฟิลเลอร์จะไม่สลายไปเอง โดยส่วนใหญ่สารนี้จะนำไปผสมกับคลอลา เจนที่ได้สัตว์ประเภทวัว ก่อนจะนำเข้ามาฉีดบนร่างกาย
ใครไม่ควรฉีด Filler (ฟิลเลอร์)
- คนที่แพ้สาร Hyaluronic Acid ไม่แนะนำฉีด Filler (ฟิลเลอร์)
- คนที่มีโรคประจำตัวต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่แนะนำฉีด Filler (ฟิลเลอร์)
- คนที่มีอาการแพ้ยาชาไม่แนะนำฉีด Filler (ฟิลเลอร์)
- คนที่มีประวัติเป็นแผลคียลอยด์ง่าย ไม่แนะนำฉีด Filler (ฟิลเลอร์)
ข้อดีของการฉีด Filler (ฟิลเลอร์)
- ฉีด Filler (ฟิลเลอร์) หลังจากฉีดแล้วเห็นผลทันที
- ฉีด Filler (ฟิลเลอร์) ไม่จำเป็นต้องพักฟื้น
- ฉีด Filler (ฟิลเลอร์) สามารถย่อยสสลายได้ตามกาลเวลา และไม่มีสารตกค้าง
ข้อเสียของการฉีดฟิลเลอร์
- ราคาสูง
- ระยะเวลาอยู่ได้เพียง 6-11 เดือน หรือ 6 เดือน -1/2 ปี
- หากไม่ได้ฉีดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจะนำไปถึงผลร้ายที่จะตามมา เช่น Filler (ฟิลเลอร์) ปลอม จะส่งผลให้ ตาบอด, อัมพฤกษ์ อัมพาต, เส้นเลือดอุดตัน หรือร้ายแรงขั้นเสียโฉม หรือเสียชีวิต
ทั้งนี้การฉีด Filler (ฟิลเลอร์) เพื่อเติมเต็มหรือเพื่อการปรับรูปหน้านั้น มาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอใน เรื่องของอาการแพ้ หากไม่ศึกษาให้ดีก่อน ผู้รับการฉีดต้องศึกษาในส่วนของสถานพยาบาล ความชำนาญของแพทย์ และอาการแพ้ยาของตนเอง เนื่องจากการฉีด Filler (ฟิลเลอร์) ที่ไม่ได้มาตราฐานนั้นจะนำไปสู่การติดเชื้อ และอันตรายต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นทางรักษาที่ดีที่สุด และลดการเสี่ยงอันตราย


Filler (ฟิลเลอร์) แก้ไขเบ้าตาลึก



Filler (ฟิลเลอร์) แก้ไขร่องน้ำตาลึก
Filler (ฟิลเลอร์) ปรับรูปทรงปาก






Filler (ฟิลเลอร์) เติมปากอวบอิ่ม



