1. วาดกราฟต์

2. ย้ายรากผม

3. แยกกราฟต์

4. เตรียมพื้นที่ปลูก

5. ปลูกผม

ปลูกผม hair transplantation

หลังปลูก

Hair Life Cycle

วัฎจักรของผมคือการเกิดของผม หลุดร่วง และงอกใหม่ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าหากผมที่หลุดออกไป ไม่งอกใหม่กลับมาต้องแก้ไขยังไง สาเหตุของการเกิด คืออะไร เรา จะพามาทำความรู้จักกับวัฎจักรผมและสาเหตุของการหลุดร่วงของผม

ผมร่วงแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

1. ระยะแอนนาเจน ( Anagen phase )

เป็นระยะที่เส้นผมมีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวยาว ขึ้น เส้นผมบนหนังศรีษะประมาณ 80- 90% อยู่ในระยะนี้ และจะอยู่ระยะนี้นาน 2-3 ปี แล้วก็จะ เปลี่ยนเข้าสู่ระยะที่ 2

2. ระยะคาตาเจน ( Catagen phase )

เป็นเส้นผมระยะพัก เส้นผมในระยะนี้จะไม่มีการแบ่ง ตัว บนหนังศรีษะเป็นเส้นผมระยะนี้ ประมาณ 1% หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่ 3

3. ระยะเทโลเจน ( Telogen phase )

พบประมาณ 10% บนหนังศรีษะ เป็นเส้นผมระยะหลุด ร่วง หลังจากเส้นผมหลุดร่วงออกไป เส้นผมก็จะเข้าสู่ระยะที่ 1 ใหม่ เวียนไปเรื่อยๆ

สาเหตุของอาการผมร่วง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

1.กรรมพันธุ์

        เป็นสาเหตุเกือบทั้งหมดของผมร่วง พบได้มากกว่า 95% และทำให้เกิดศีรษะล้าน แบบถาวร อย่างที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์มีรูปแบบและลักษณะเฉพาะที่ เป็นเอกลักษณ์ กล่าวคือ

1.1 ในผู้ชาย

      มักเริ่มจากมีการถอยร่นของแนวผมทางด้านหน้าลึกเข้าไปเป็นง่าม และ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ บางคนอาจมี ศีรษะล้าน ด้านหลังตรงบริเวณขวัญร่วมด้วย สุดท้ายแล้วถ้าผมยังไม่หยุดร่วง ศีรษะล้าน ทั้ง 2 บริเวณจะลามเข้าหากันจนกลายเป็น ศีรษะ ล้าน บริเวณกว้าง ซึ่งจะเป็นมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของคนๆนั้น

1.2 ในผู้หญิง

      มีรูปแบบแตกต่างจากผู้ชาย คือจะมี ผมบาง เฉพาะตรงบริเวณกลาง ศีรษะเท่านั้น ส่วนแนวผมด้านหน้ายังคงดีอยู่ไม่ถอยร่นเข้าไปเหมือนในผู้ชาย แต่บางคนอาจมี ศีรษะเถิกแบบผู้ชายก็ได้ อาการดังนี้

คนที่เป็นผมร่วงจากกรรมพันธุ์ มักพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติ ศีรษะล้าน ร่วมด้วย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีเสมอไป บางคนบิดามารดาศีรษะไม่ล้าน ส่วนลูกหลานกลับมี ศีรษะล้าน ก็ได้ขึ้นกับปัจจัยที่ควบคุมให้ยีน ศีรษะล้าน แสดงหรือไม่แสดงออก

2 . สาเหตุอื่นๆ

    พบได้น้อย มีด้วยกันหลายโรค โรคที่พบได้บ่อยคือ ผมร่วงชนิดเป็นหย่อม หรือ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Alopecia Areata โรคของต่อมไทรอยด์เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ( Toxic goiter ) ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ( Hypothyroidism ) โรคโลหิตจาง ภาวะหลังคลอด บุตร หลังฟื้นไข้และผ่าตัดใหญ่ การอดอาหารมาก ๆ เพื่อลดน้ำหนัก ความเครียด โรคผิวหนัง บางชนิด โรคจิตที่ชอบถอนผมตัวเอง ( Trichotillomania ) มะเร็ง รังไข่ที่ผลิตฮอร์โมนเพศชาย โรคเอสเอลอี โรคไข้ไทฟอยด์ โรคซิฟิลิส โรคเบาหวาน การเจ็บป่วยเรื้อรัง หรืออาจเกิดจากยา บางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดเพื่อรักษามะเร็ง เป็นต้น