ศรีษะล้านจากกรรมพันธุ์ แก้ไขด้วย FUE

คือโรคที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบาง และ ศีรษะล้านทางพันธุกรรม (Genetic) ร่วมกับ ระดับฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) ที่มีมากกว่าปกติและอายุที่เพิ่มขึ้น (Chronologic) ซึ่งมีอัตราที่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
You are here:

ศรีษะล้านกรรมพันธุ์ หรือโรคหัวล้านทางพันธุกรรม

โรคที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบาง และ ศีรษะล้าน ด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม (Genetic) ร่วมกับ ระดับฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) ที่มีมากกว่าปกติและอายุที่เพิ่มขึ้น (Chronologic) ซึ่งมีอัตราที่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

โดยอาการผมร่วงที่เกิดจากเหตุผลทางกรรมพันธุ์ หากเป็นโรคนี้ เริ่มแรกผมจะเส้นเล็กลง ร่วงง่าย ผมที่ขึ้นใหม่ไม่แข็งแรง จนผมบาง พบมากในเพศชาย มากกว่า เพศหญิงอายุระหว่าง 18-90 ปี มีอาการศีรษะล้านจากพันธุกรรม และส่วนใหญ่มักเกิดอาการผมบางบริเวณกระหม่อมศีรษะ

ลองใครได้มีอาการศีรษะล้านจากพันธุกรรม จะเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยและทำให้เพศชายและเพศหญิงต่างเกิดการสูญเสียความมั่นใจ  ด้วยความทันสมัยในปัจจุบัน ทำให้มีการค้นพบวิธีการรักษาด้วยการปลูกผม FUE

ลักษณะหัวล้านกลางศีรษะในผู้ชาย

     ผมร่วงในผู้ชาย มักเริ่มจากมีการถอยร่นของแนวผมทางด้านหน้าลึกเข้าไปเป็นง่าม และ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ บางคนอาจมี “ศีรษะล้านด้านหลัง” ตรงบริเวณขวัญร่วมด้วย สุดท้ายแล้วถ้าผมยังไม่หยุดร่วง ในบริเวณที่ศีรษะล้านทั้ง 2 ข้างจะลามเข้าหากันจนกลายเป็น ศีรษะล้านบริเวณกว้าง ซึ่งจะเป็นมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของคนๆ นั้น

ลักษณะหัวล้านกลางศีรษะในผู้หญิง

     สำหรับอาการผมร่วงในผู้หญิงนั้นจะมีรูปแบบแตกต่างจากผู้ชาย คือจะมี ผมบาง เฉพาะตรงบริเวณกลางศีรษะเท่านั้น ส่วนแนวผมด้านหน้ายังคงดีอยู่ไม่ถอยร่นเข้าไปเหมือนในผู้ชาย แต่บางคนมีศีรษะเถิกแบบผู้ชาย

ฮอร์โมน

  • ฮอร์โมนในผู้ชาย

โดยปกติแล้วผมบางกลางหัวในผู้ชายเกิดจากฮอร์โมนที่ชื่อว่า Dihydrotestosterone หรือ DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นมาจากฮอร์โมน Testosterone โดยฮอร์โมน DHT นั้นมีผลให้ผมร่วงโดยตรง ทำให้เส้นผมที่สร้างขึ้นมามีขนาดเล็ก บาง และสั้นลงอันเนื่องมาจากวงจรเส้นผมที่เปลี่ยนไป จนสุดท้ายเมื่อรากผมไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ขึ้นมาได้ก็จะฝ่อไปในที่สุด

  • ฮอร์โมนในผู้หญิง

ฮอร์โมนที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้านกลางศีรษะได้นั้นคือ Estrogen ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของเส้นผม ถ้าเมื่อใดที่ฮอร์โมน Estrogen ลดลงก็จะทำให้เกิดผมร่วงทั่วๆ ทั้งศีรษะมากกว่าปกติ พบได้มากในผู้ที่ใช้ยาที่ส่งผลกับฮอร์โมน เช่น กินยาคุมกำเนิด เป็นต้น แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เข้าสู่วัยทองอาการหัวล้านกลางหัวนั้นจะคงอยู่ถาวร

วิธีรักษาหัวล้านกลางศีรษะ

  • บำรุงจากภายใน

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนก็จะเป็นผลดีต่อเส้นผมด้วย โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีน ไบโอติน หรือซิงค์ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีการนวดหัวเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด การไม่ทำรุนแรงต่อเส้นผมเมื่อต้องการจัดแต่งทรงผม รวมไปถึงการป้องกันเส้นผมจากความร้อน และสารเคมีต่างๆ ที่ช่วยได้ด้วยเช่นกัน  

  • รักษาด้วยยารักษาผมร่วง 

ยาปลูกผมที่ใช้รักษาผมร่วง ผมบางกลางศีรษะนั้น มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) และฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride)

  • รักษาโดยแพทย์

ทางเลือกในการรักษาผมบางกลางศีรษะโดยแพทย์นั้น มีให้เลือกมากมายหลายรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและงบประมาณของลูกค้า และดุลยพินิจของแพทย์

    • การทำทรีทเมนต์

หรือฉีดเกล็ดเลือดของคนไข้เข้าที่หนังศีรษะ เพื่อช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูการทำงานของเซล์ต่างๆ บริเวณรากผม กระตุ้นให้เซลล์รากผมแข็งแรง และชะลอการเกิดผมร่วง

    • ปลูกผมถาวร FUE

ทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อคนผมบางกลางศีรษะ บางท่านอาจจะมีปัญหาและไม่เข้ารับการแก้ไขตั้งแต่ต้น ปล่อยให้กลายเป็นปัญหาศรีษะล้าน หรือ หัวล้าน นั่นก็เพราะการปลูกผมนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาศีรษะล้านและผมบางได้อย่างตรงจุด และผมที่ปลูกก็จะไม่มีโอกาสร่วงอีกต่อไป

รีวิว ปลูกผม FUE ก่อนและหลัง ที่ Facebody